เมื่อวันที่ 27 ก.พคำพูดจาก pg เว็บตรง. ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) นายวรพล แกมขุนทด รักษาการนายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ และประธานที่ปรึกษาสมาคมฯ เปิดเผยว่า ตนพร้อมสมาชิก เข้าร่วมประชุมเรื่องปัญหาอุปกรณ์มิเตอร์รถแท็กซี่ โดยมีนายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดี ขบ. เป็นประธานการประชุม สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. เรื่องขอหารือการปรับมิเตอร์ ปัญหาข้อมูลของมิเตอร์อุปกรณ์มิเตอร์ยี่ห้ออพอลโล (APOLLO) ที่ทำความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ในการปรับราคามิเตอร์แท็กซี่ในครั้งนี้ และยี่ห้อรอยัล (ROYAL) ยี่ห้อปริ้นแท็กซ์ (PRINTAX) ที่มีปัญหาในตอนนี้
สมาคมฯ ได้รับฟังปัญหาพร้อมกับไปสังเกตการณ์การปรับมอเตอร์ราคาค่าโดยสารรถยนต์รับจ้างไม่เกินเจ็ดคน (แท็กซี่) ที่จดทะเบียนในกรุงเทพฯ ที่มีการดำเนินการปรับมิเตอร์มาตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 66 มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ได้ไปติดตั้งอุปกรณ์ยี่ห้ออพอลโล มาก่อนที่จะปรับราคาค่าโดยสาร ซึ่งทางผู้ประกอบการที่ได้ไปติดตั้งเครื่องอุปกรณ์มอเตอร์ยี่ห้ออพอลโล นั้นไม่สามารถนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปปรับราคาค่าโดยสารได้
นายวรพล กล่าวต่อว่า เนื่องจากทางเจ้าของเครื่องอุปกรณ์มิเตอร์ยี่ห้ออพอลโลที่ได้รับรองเป็นไปตามประกาศของ ขบ. ในการนำมาใช้ติดตั้งในแท็กซี่ตามกฎหมายไปก่อนแล้วนั้น ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 แต่ปัจจุบันได้เลิกกิจการแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ประมาณ 10,000คัน ได้รับความเดือดร้อน ต้องไปซื้ออุปกรณ์มิเตอร์ใหม่ในราคา 3,500บาทต่อเครื่อง เพื่อปรับจูนราคาค่าโดยสารครั้งนี้ จนเกิดค่าใช้จ่ายตามมา
นอกจากนี้มิเตอร์ยี่ห้อรอยัล ยี่ห้อปริ้นแท็กซ์ มีปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทำงานล่าช้า และจัดคิวปรับมิเตอร์ในแต่ละวัน ควรเพิ่มจำนวนของรถแท็กซี่ที่มาขอรับบริการ เพราะแท็กซี่ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีในระบบประมาณ 85,000 คัน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก และแม้บางส่วนจะทยอยดำเนินการปรับมิเตอร์ไปแล้วก็ตาม แต่ขณะนี้ยังมีแท็กซี่อีกหลายคันที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นจึงอยากจะให้ทั้ง 2 ยี่ห้อ มีวิธีการดำเนินการอื่นที่รวดเร็วกว่าปัจจุบันหรือไม่ เช่น มอบไฟล์ข้อมูลการปรับมิเตอร์ให้กับ ขบ. ดำเนินการด้วย หรือมอบไฟล์ข้อมูลการปรับราคาค่าโดยสารให้กับกลุ่มเครือข่ายที่ขายมิเตอร์ยี่ห้อดังกล่าว ให้ช่วยการปรับค่าโดยสารครั้งนี้ได้หรือไม่
ด้านนายเสกสม กล่าวว่า กรณีที่ให้บริการปรับจูนมิเตอร์ค่าโดยสารใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์นั้น ยอมรับว่า มีคิวหนาแน่นในช่วงแรกที่ให้บริการ แต่ขณะนี้จำนวนแท็กซี่เริ่มเบาบางแล้ว เพราะล่าสุดปรับมิเตอร์ใหม่แล้ว 50,000 กว่าคัน จากภาพรวมที่มีให้บริการ 70,000 กว่าคัน ซึ่งการให้บริการจูนมิเตอร์ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะครบระยะเวลาที่กำหนดในวันที่ 28 ก.พ. นี้
หลังจากนี้แท็กซี่ที่ยังไม่ได้ปรับจูนมิเตอร์ใหม่สามารถไปปรับจูนที่บริษัทมิเตอร์ได้ จากนั้นให้มาซีลตะกั่ว เพื่อทำการรับรองจาก ขบ. อีกครั้ง ก่อนจะนำไปให้บริการได้ ส่วนกรณีมิเตอร์ยี่ห้ออพอลโล เนื่องจากเจ้าของบริษัทเสียชีวิตจึงปิดกิจการ ส่วนใหญ่เป็นแท็กซี่ที่มีอายุการใช้งานมานาน 9-12 ปี ยังสามารถให้บริการได้ในอัตราเก่า และได้ประสานงานกับแท็กซี่ให้ช่วยหาบริษัทมิเตอร์ใหม่มาให้บริการแทน